สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับคะ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ของเล่นของทับทิมตอนหนึ่งขวบ

จากคราวที่แล้วได้อัพเรื่องของเล่นเด็กวัยหนึ่งขวบถึงสามขวบ วันนี้เลยมายกตัวอย่างของเล่นของทับทิมมาให้ดูกันคะ
รูปแรกเป็นเตารีด และไฟฉายเล็กคะ เตารีดน่ะ ของจริง แต่มันเล็กเลยเอามาให้ทับทิมเล่นคะ แต่ทับทิมเล่นไม่เป็นหรอกคะ เพราะไม่เคยเห็นคุณแม่รีดผ้า เลยไม่รู้จักว่าเจ้าตัวนี้ไว้ทำอะไรคะ แต่ถ้าเด็กคนไหนเคยเห็นคุณแม่ คุณยายรีดผ้าล่ะก็จะเล่นเป็นคะ เป็นการเลียนแบบคะ


รูปที่สองเป็นของเล่นยางคะ เอาไว้บีบๆ เล่น ทับทิมจะชอบบีบเล่นคะ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อนิ้วมือด้วยคะ


อันนี้ก็ตุ๊กตาคะ ทับทิมก็จะเอามากอดเล่น พร้อมกับกล่อมตุ๊กตาให้หลับคะ เลียนแบบแม่เวลากล่อมตัวเองนอนน่ะคะ ที่จริงมีตุ๊กตาผู้หญิงด้วยแต่ไม่ได้ถ่ายมาคะ เคยให้ขนมทับทิม เราบอกว่าทับทิมป้อนตุ๊กตาด้วยสิลูก ทับทิมก็เอาขนมไปยื่นให้ตรงปากตุ๊กตาด้วยคะ และเวลาเราเล่นตุ๊กตากับเขาก็ควรบอกว่าเป็นตุ๊กตาอะไรด้วยน่ะคะ เช่น หมี แมว กระต่าย


อันนี้เป็นลูกบอลโลกคะ ลูกใหญ่กว่ามือทับทิมเล็กน้อยคะ จับได้เหมาะมือ ทับทิมจะชอบถือเอาลูกบอลโลกเดินด้วยคะ ส่วนลูกบอลใหญ่(ไม่ได้ถ่ายมาเพราะอยู่นอกบ้าน)จะเอาไว้เล่นนอกบ้านเวลาเดินเล่นคะ


อันนี้เขาเรียกว่าอะไรน่ะ แต่เป็นการฝึกให้ลูกเรียงใหญ่เล็กน่ะคะ แต่ทับทิมเรียงยังไม่เป็นหรอกคะ เอาออกเป็นและเอาใส่เป็นแค่นั้นน่ะคะ


อันนี้เป็นโทรศัพท์คะ ของจริงบ้างของปลอมบ้าง แต่ของจริงเอาแบตเตอรี่ออกแล้วนะคะ เพราะกลัวจะเป็นอันตรายคะ ยิ่งถ้ามีเสียงด้วยลูกจะชอบคะ เขาจะลอกเลียนแบบเราเวลาเรารับโทรศัพท์จะเอาแนบหูตัวเองคะ ถ้าเด็กคนไหนพูดเก่งก็จะบอกว่า "ฮาโหล"พร้อมกับเอาแนบหูคะ


อันนี้เป็นรถและเมาท์ที่เสียแล้ว วัยนี้เขาจะชอบเอาของเล่นไถลคะ


อันนี้เป็นรถกับเป็ดคะ รถนั้นเอาเชือกผูกไว้ให้ลูกลากจูงคะ ฝึกการเดินคะ ทับทิมชอบคะ จะหันมาดูรถเวลาเดินด้วยคะ ส่วนเป็ดนั้นจะมีเชือกข้างหลังเวลาเราดึงและปล่อยวางบนพื้นเป็ดก็จะไหลไปข้างหน้าแบบวนไปวนมาคะ คิดว่าเด็กๆ น่าจะชอบกันคะ เพราะเราเองก็ยังชอบเลยคะ

 

อันนี้เป็นกังหันคะ ให้ทับทิมเล่นตั้งแต่นั่งได้คะ เวลาจับนั่งรถ เราเข็นรถ กังหันก็จะหมุนคะ เวลาเขาเดินได้เขาจะถือ เมื่อลมพัดกังหันก็จะหมุนอีก เวลานั้นเขาก็จะหัวเราะคะ เป็นการกระตุ้นให้เขาเดินได้ดีคะ


อันนี้เป็นกลองคะ วัยนี้อบเคาะ ชอบตีคะ อะไรที่เคาะ ตี เขย่า และมีเสียงเขาจะชอบคะ


อันนี้เป็นบล็อกคะ ทับทิมใส่ยังไม่เป็นหรอกคะ แต่เราก็อาศัยให้เขาเขย่าๆ และเอารูปทรงต่างๆ ให้เขาจับเขาถือน่ะคะ ให้เขาได้สัมผัสเรียนรู้เรื่องรูปทรงคะ ส่วนกล่องข้างๆ เอาไว้ให้ทับทิมจับใส่กล่อง ฝึกให้เขาเล่นแล้วเก็บคะ


อันนี้ค้อนคะ ทุบตีแล้วเกิดเสียง อย่างที่บอกไว้ว่าวัยนี้ชอบเคาะ ตี เขย่าคะ


อันนี้กระดานคะ เราชอบเป็นการส่วนตัวคะ ขีดๆเขียนแล้วไม่เลอะ ลบได้ ไม่อันตราย เพราะเกิดจากแม่เหล็กคะ ทับทิมเองจะชอบจับรูปดาวรูปสามเหลี่ยม รูปหัวใจมาวางแล้วก็ลากไปมามากกว่าดินสอคะ คิดว่าเส้นคงใหญ่กว่าเห็นชัดกว่าคะ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กคะ ตั้งแต่เริ่มจับตัวพิมพ์จนกระทั่งเวลาที่ลากไปลากมาบนกระดานคะ


อันนี้เป็นออร์แกนคะ เล่นตั้งแต่เล็กๆ ตอนนี้ก็ชอบเล่น กดเอง เลือกเพลงเองแล้วโยกไปมาคะ


อันนี้เป็น...เขาเรียกว่าอะไรดีล่ะ คฑามั้งคะ กดแล้วมีไฟออกคะ มีปุ่มเล็กๆ อยู่ที่ด้ามจับ ตอนแรกทับทิมเปิดไม่เป็นหรอกคะ ตอนนี้เปิดเองได้แล้ว ชอบเล่นเปิดไฟ หรืออะไรที่เป็นบปุ่มกดน่ะคะ


นี้เพียงยกตัวอย่างแค่นั้นคะ ของเล่นเด็กมีเยอะ ของทับทิมก็เยอะ แต่ไม่ได้ถ่ายมาให้ดู เพราะกระจัดกระจายไว้อีกบ้านคะ และสิ่งที่เราคำนึงเวลาที่จะเลือกซื้อของเล่นคือ ที่ราคาไม่แพงคะ เพียงแต่ว่าเวลาเราซื้อต้องคิดก่อนว่าอันตรายหรือเปล่า จะเป็นประโยชน์หรือเสริมพัฒนาการอะไรให้ลูกหรือเปล่าคะ บางอย่างไม่ได้เสริมพัฒนาการเลย แต่ลูกชอบก็ซื้อเถอะคะ ถ้าราคาไม่แพง หรือว่าครอบครัวไหนไม่มีปัญหาเรื่องเงินๆ ทองๆ นะคะ แต่ของเราเป็น single mom ต้องพยายามคิดหน่อยว่าอันไหนคุ้มค่ากับลูกหรือเปล่าน่ะคะ บางอย่างดัดแปลงจากของใช้ในบ้านได้ก็ใช้อันนั้นล่ะคะ ช่วยลดเงินในกระเป๋า ช่วยลดโลกร้อนด้วยน่ะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 1-3 ปี

ของเล่นหรือการเล่นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดังนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูได้เข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการและการเรียนรู้เด็กจะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถนำประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ



ความหมายของการเล่น
การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วย

ประโยชน์ของการเล่น
1. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน
2. ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
4. ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์
5. ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
6. ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอยความยืดหยุ่น (flexibility)
7. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
8. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
9. ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมติ
10. ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิ

พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย ๑-๓ ปี

เด็กในวัยนี้ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การค้นหา รวมทั้งมีศักยภาพทางพัฒนาการในทุกด้านที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ขึ้น กล่าวคือ ทักษะด้านการเคลื่อนไหว เด็กสามารถเดินได้คล่อง เดินขึ้น-ลงบันไดได้เอง กระโดด ปีนป่ายได้ ทักษะการใช้นิ้วมือ ความคล่องตัว และแม่นยำในการทำงานมากขึ้น ทักษะทางด้านภาษา สามารถโต้ตอบด้วยคำพูดเป็นประโยคสั้น ๆ บอกความต้องการของตัวเอง ตลอดทั้งปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ได้ดี รวมทั้งช่วยเหลือตัวเองในการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ ถอด-ใส่เสื้อผ้า ควบคุมการขับถ่ายได้

ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรตระหนักคือ เรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์การเล่น และกิจกรรมการเล่น ไม่ว่าเด็กจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับผู้อื่นก็ตาม เนื่องจากเด็กวัยนี้ไม่เข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น มีความคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างตนเองสามารถทำได้หมด และสามารถควบคุมจัดการในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

อุปกรณ์ของเล่นและเกมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัย 1-3 ปี

อุปกรณ์ / เกม
บล็อกขนาดต่าง ๆ ประมาณ 5-6 ชิ้น อาจทำด้วยไม้ พลาสติก หรือ กระดาษแข็ง หรือเครื่องเล่น Lego หรืออาจใช้กล่องสบู่ กล่องนมแทน ซึ่งสามารถวางต่อกันหรือวางซ้อนกัน
ประโยชน์
เพื่อฝึกทักษะการจับวาง การวางซ้อน การวางเรียง ฝึกทักษะการใช้มือและตาประสานกัน ฝึกการระระยะ ฝึกการสังเกต ฝึกความคิดเปรียบเทียบขนาดต่าง ๆ ของวัตถุ


อุปกรณ์ / เกม
กระดาน ค้อนตอก อาจทำด้วยไม้ หรือพลาสติก
ประโยชน์
เพื่อฝึกทักษะการใช้มือ ข้อมือ และท่อนแขน ตลอดทั้งการทำงานประสานงานกันระหว่างมือกับตา ฝึกการกะระยะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการใช้อุปกรณ์ของเล่นในการตอก


อุปกรณ์ / เกม
ของเล่นเป็นชิ้นที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง หรือยาวบ้างสั้นบ้าง อาจทำด้วยไม้หรือพลาสติก
ประโยชน์
เพื่อฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อ มือ สังเกตรูปร่างและขนาด และรู้จักการเรียงขนาดเป็นระบบ เช่น เรียงตามลำดับจากเล็กไปใหญ่ หรือจากสั้นไปยาวโดยเด็กสามารถเรียนรู้การจัดวางรูป ขนาดเป็นชั้นต่าง ๆ อย่างเหมาะสม


อุปกรณ์ / เกม
ของเล่นที่ทำให้เกิดเสียง เช่น กล่อง ดนตรี ของเล่นที่จับเขย่า เคาะมีเสียง หรือเครื่องดนตรีประเภท keyboard กรับพวง ฯลฯ
ประโยชน์
เพื่อฝึกความสนใจฟังเสียงต่าง ๆ จากเครื่องดนตรีและสนุกสนาน ฝึกสมาธิและความสนใจ ตลอดทั้งฝึกการใช้มือ นิ้วมือ ในการกด เคาะ หรือตี


อุปกรณ์ / เกม
บอลผ้า / ลูกบอลพลาสติกยาง หรือ แป้นหลักใส่ห่วง
ประโยชน์
เพื่อฝึกการกะระยะใช้สายตาประสานกับมือ-แขน ในการโยน กลิ้ง ปาลงเป้าหมาย (อาจเป็นบุคคล หรือตะกร้า หรือลัง) ได้คล่องแคล่ว แม่นยำ


อุปกรณ์ / เกม
ของลากจูง เช่น สัตว์ต่าง ๆ รถ เรือ รถไฟ มีเชือกร้อยให้เด็กลางจูง
ประโยชน์
เพื่อฝึกความคล่องแคล่วของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในการเดินหรือวิ่งลากจูงของเล่นไป-มา อาจจะเคลื่อนไหวช้า-เร็ว แล้วแต่ความสามารถและความสนใจของเด็กแต่ละคน


อุปกรณ์ / เกม
อุปกรณ์เล่นทราย เช่น พลั่ว ช้อน ถัง พลาสติก ใช้เล่นกับทรายหรือข้าวสาร ย้อมสี หรือเม็ดถั่วต่าง
ประโยชน์
เพื่อฝึกการใช้มือ นิ้วมือ แขน และการทำงานประสานกันระหว่างมือ และตา ตลอดทั้งทักษะทางสังคมในการแบ่งปัน การให้-รับ (Turn-Taking) ระหว่างบุคคลอื่นอาจดัดแปลงใช้กับอุปกรณ์ในครัวเรือนได้ เช่น ช้อน จาน ถ้วย ฯ


อุปกรณ์ / เกม
หนังสือรูปภาพ อาจทำด้วยกระดาษ แข็งอย่างดี ทำด้วยผ้า ทำด้วย พลาสติก รวมทั้งโปสเตอร์ภาพสัตว์ ต่าง ๆ และอื่น
ประโยชน์
เพื่อฝึกการใช้มือ นิ้วมือ ข้อมือ ในการพลิกหน้าหนังสือ และใช้นิ้วชี้รูปภาพต่าง ๆ ตลอดทั้งทักษะด้านความเข้าใจภาษาและการพูด


อุปกรณ์ / เกม
ภาพตัดต่อ (Jigsaw) ควรมีจำนวน 3-6 ชิ้น อาจทำด้วยพลาสติก ไม้ กระดาษแข็งอย่างดี
ประโยชน์
เพื่อฝึกให้เด็กสังเกต เปรียบเทียบฝึกการคิดแบบบูรณาการ (ภาพรวม) ฝึกการจำ โดยการนำชิ้นส่วนของภาพมาต่อเรียงกัน เพื่อเกิดภาพได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ เสริมสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง (self-esteem)


อุปกรณ์ / เกม
สีเทียน สีเมจิกแท่งใหญ่ ขีดเขียนบน กระดานหรือกระดาษ
ประโยชน์
เพื่อใช้ขีดเขียนในลักษณะที่ไม่เป็นรูปร่างใด ๆ ทั้งสิ้น เด็กจะขีดเขียนเอง และสร้างสรรค์จินตนาการของตัวเอง โดยเด็กเริ่มจับดินสอในลักษณะของมือกำ ต่อมาจึงจับในลักษณะของการใช้นิ้วมือได้ในที่สุด และเริ่มเขียนแบบมีรูปร่างทางเรขาคณิตมากขึ้น คือ ขีดเส้นตรง และวงกลม เพื่อฝึกทักษะการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือ ข้อมือ และท่อนแขน ตลอดทั้งฝึกการคิดจินตนาการต่าง


อุปกรณ์ / เกม
ของเล่น Pop-Up ที่เป็นรูปสัตว์
ประโยชน์
เพื่อฝึกการทำงานของนิ้วมือ มือ ในการกด หมุน บิด ดึง ตลอดทั้งสร้างเสริมทักษะของพัฒนาการทางภาษา ในด้านความเข้าใจ และการพูด รวมทั้งสร้างความสนใจและสร้างสมาธิ


อุปกรณ์ / เกม
เกมวาดรูปจากนิ้วมือ (Finger painting) อาจใช้สีน้ำ สีโปสเตอร์ หรือกาวน้ำ / แป้งเปียกผสมสี
ประโยชน์
เกมนี้เพื่อกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ นิ้วมือ มือ ตลอดจนการประสานงานของตาและมือ สามารถกระตุ้นความสนใจ สร้างสมาธิในขณะทำกิจกรรม และฝึกงานด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยให้เด็กใช้นิ้วหรือมือในการละเลงสีน้ำ สีโปสเตอร์ สีแป้งเปียก ลงบนกระดาษหรือกระดาน


อุปกรณ์ / เกม
เกมจ้ำจี้มะเขือเปาะ
ประโยชน์
เพื่อฝึกการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ โดยผู้ใหญ่หรือเด็กจะเป็นผู้นำเกม ใช้นิ้วจิ้มลงบนนิ้วมือของผู้เล่นทีละนิ้ว พร้อมกับร้องเพลง “จ้ำจี้มะเขือเปาะ” เป็นการฝึกการฟัง สร้างความสนใจ และการมีสมาธิในการเล่นกิจกรรม ตลอดทั้งได้รับการเสริมทักษะพัฒนาการด้านภาษา และรู้จักกติกาอย่างง่ายในการเล่น


ข้อแนะนำในการเล่นของเด็กวัย 1-3 ปี
การเล่นของเด็กในวัยนี้ควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ตลอดเวลา แต่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำและเรียนรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ฝึกความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้ชี้แนะหรือให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง (self-esteem) รู้ว่าตนเองมีคุณค่าซึ่งจะสามารถพัฒนาให้เกิดความมั่นใจ และมีบุคลิกภาพที่ดีต่อไปในอนาคต นอกจากนี้เด็กยังมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบลองผิดลองถูก และต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่แปลกใหม่ด้วยตัวเอง ตลอดทั้งยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Ego centric) ไม่ชอบให้ใครมาสั่งหรือบังคับ จึงอาจแสดงออกโดยการต่อต้าน เช่น ขัดใจลงไปนอนดิ้น ร้องกวนอาละวาด หากพ่อแม่รู้จักหลอกล่อหรือเบี่ยงเบนความสนใจ ก็จะลดพฤติกรรมเหล่านั้นได้

การเลือกของเล่นให้เหมาะกับความสามารถของเด็กในแต่ละวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กเป็นอย่างมาก พ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกสรรของเล่นและจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อเด็กให้เกิดศักยภาพในการรู้ โดยคำนึง
1. ความปลอดภัย
2. ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก
3. ความสนใจของเด็ก
4. ความสะอาด
5. ความเหมาะสมของราคา
6. วิธีการเล่น

ขอบคุณข้อมูลจาก

ประภาศรี นันท์นฤมิต
หน่วยพัฒนาการและเจริญเติบโต
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาฯ

ที่มา:http://www.raklukeshop.in.th/index.php/2009-09-05-08-59-04/39-today-on-news/56-adipiscing-mauris-ante-adipiscing

เมื่อทับทิมหนึ่งขวบแล้ว

ไม่ได้อัพมานาน วันนี้มีปัญหาซึ่งเป็นปัญหามานาน เพราะเจ้าตัวปัญหา "ทับทิม" ไม่ค่อยยอมกินข้าว วันนี้คุณแม่ต้องลองมานั่งหาข้อมูล ไปเจออยู่เว็บหนึ่งน่าสนใจมาก เลยก๊อปมาให้อ่านกันดู เผื่อมีคุณแม่ท่านไหนได้ประโยชน์บ้างคะ

ในช่วงอายุ1ขวบถึง2ขวบ
น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้น
เพียงประมาณ2กิโลกรัมเท่านั้น
แต่ไม่ได้หมายความว่า
ช่วงหนึ่งขวบถึงขวบครึ่ง
น้ำหนักเเด็กจะเพิ่ม1กิโลกรัม

ช่วงฤดูร้อนน้ำหนักเด็กอาจเพิ่มน้อยมาก
และมาเพิ่มเร็วในช่วงที่อากาศเย็นสบาย
เพราะเด็กกินอาหารได้มากขึ้น

เมื่อเด็กอายุเกิน1ขวบ
และร่วมกินอาหารกับพ่อแม่แล้ว
ความแตกต่างในเรื่องการกินอาหาร
ของเด็กแต่ละคนจะปรากฏชัดเจนขึ้น
ไม่มีมาตรฐานใดๆที่กำหนดว่า
เด็กจะต้องกินเท่านั้นเท่านี้
เด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินข้าว
แต่มีเด็กบางคน
จะกินเก่งมาก
จนทำให้แม่ซึ่งมีลูกที่กินน้อย
เกิดความเป็นห่วงลูกของตน
เราลองมาเปรียบเทียบรายการอาหาร
ของเด็กกินเก่งกับเด็กกินน้อยดู

เด็กกินเก่ง
9โมงเช้า กินขมปัง(2แผ่น)
นม1ขวด(180มิลลิลิตร) ตับบด ผลไม้

เที่ยงกินข้าว(2ถ้วยข้าวเด็ก)
ไข่1ฟอง ไส้กรอก ผัก

บ่าย3โมงเย็น กินขนมปังกรอบ นม1ขวด

6โมงเย็น กินข้าว(2ถ้วย) ปลาหรือเนื้อ ผัก

2ทุ่ม ดื่มนมอีก1ขวด

เด็กกินน้อย
8โมงครึ่ง ดื่มนม1ขวด
10โมงเช้า กินขนมปังกรอบเล็กน้อย

เที่ยงกินข้าวไม่กี่ช้อน ไส้กรอก ไข่ ผัก

บ่าย3โมงครึ่ง ดื่มนม1ขวด

6โมงเย็นกินข้าวไม่กี่ช้อน ปลา ผัก

3ทุ่ม ดื่มนม1ขวด
จะเห็นว่า
เด็กกินเก่งเป็นเด็กที่กินนมเก่งมาตั้งแต่เล็ก
น้ำหนักตอน1ขวบ
มากกว่า10กิโลกกรัม
เเด็กกกินน้อยนั้นกินน้อย
มาตั้งแต่สมัยแบเบาะ
ดูดนมไม่เคยหมดขวด
พออายุได้1ขวบ
น้ำหนักจะประมาณ8กิโลกรัมเท่านั้น

แม่ของเด็กทั้งสอง
ต่างสนใจเรื่องอาหารของลูกทั้งคู่
การปรุงอาหารและให้อาหารลูก
ก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก
ความแตกต่างอยู่ที่ตัวเด็กเองมากกว่า

แต่ถึงจะเป็นเด็กกินเก่ง
แกก็เจริญเติบโตตามอัตภาพ
เพราะถึงจะกินข้าวน้อย
แต่แกก็ชอบกินนมและไข่

ตามหลักโภชนาการแล้ว
เด็กอายุช่วง1-2ขวบ
ควรได้รับโปรตีน
วันละประมาณ40กรัม
(ควรเป็นโปรตีนจากสัตว์สักครึ่งหนึ่งด้วย)
แต่บางท้องถิ่นที่กันดาร
เด็กได้รับโปรตีนไม่ถึงวันละ15กรัมก็มี

เด็กที่มีกินแต่มีนิสัยกินน้อยนั้นส่วนใหญ่จะได้
โปรตีนวันละมากกว่า30กรัม
ซึ่งปริมาณขนาดนี้
เด็กน้ำหนักขนาด8กิโลกรัมพอจะอยู่ได้

แต่ถ้าแม่คิดว่าที่ลูกไม่กินข้าว
เป็นเพราะกินนมมากเกินไป
จึงลดนมเหลือเพียงขวดเดียว

ในกรณีนี้ถึงเด็กจะกินข้าวเพิ่มขึ้นเป็น2ถ้วย
แต่ปริมาณโปรตีนที่ได้ยังไม่พออยู่ดี

กรดอะมิโนเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับการเจริญเติบโตของเด็ก
กรดนี้มีอยู่ในไข่ ปลา เนื้อ และนมฯลฯ
ซึ่งเป็นโปรตีนจากสัตว์
แต่มีน้อยในข้าว แป้ง หรือก๋วยเตี๋ยว
เพราะฉะนั้น เด็กที่กินน้อยควรกินนมและไข่
ส่วนข้าวนั้นกินน้อยๆก็ได้

ถ้าจะให้ดีควรหัดให้เด็กกินข้าวกล้อง
ซึ่งมีโปรตีนมากกว่าข้าวขาวหลายเท่า

คนสมัยก่อนมักเน้นเรื่องกินข้าวมาก
เพราะข้าเวป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ
แต่ข้าวซึ่งถูกขัดสีจนขาวนั้น
จะมีโปรตีนน้อยกว่าข้าวซ้อมมือมาก
ถ้าที่บ้านไม่ได้กินข้าวกล้อง
พ่อแม่ควรเน้นให้ลูกกิน
กับข้าวประเภทโปรตีนจากสัตว์
เช่น ปลา เนื้อ ไก่ ไข่ เป็นต้น
ถ้าเด็กไม่ค่อยยอมกินกับข้าว
ก็ต้องทดแทนด้วยนม

ที่จริงเด็กรู้จักกินให้พอเพียง
ตามความต้องการของร่างกาย
ถ้าเราให้อาหารเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง
ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กมีจิตใจจดจ่ออยู่กับการกิน
จิตใจไม่ว่อกแว่กห่วงเล่น
เด็กจะกินเท่าที่ร่างกายต้องกาย

เด็กกวัยนี้ถ้าไม่อยากให้เล่น
ระหว่างกินอาหาร
ควรให้นั่งกินที่โต๊ะอาหาร
หรือในเก้าอี้หัดเดิน

เวลาร่วมวงกินอาหารพร้อมกันทั้งบ้าน
พ่อต้องร่วมมือช่วยป้อนด้วย
เด็กจึงจะสนใจกินอาหารดี

ตามปกติเด็กวัยขวบครึ่ง
จะกินอาหาร3มื้อ และนมอีก2ขวด
สำหรับเด็กที่ไม่ค่อยกินกับข้าว
ควรเพิ่มนมเป็น3ขวด

การให้นมตอนกลางวัน
อย่าให้ดูดจากขวด
ให้เด็กดูกจากหลอดหรือใส่ถ้วยให้ดื่ม
แต่เด็กวัยนี้มีจำนวนมาก
ที่ไม่ยอมห่างขาดนม
เวลาดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้เด็กจะยอมดื่มจากถ้วยโดยดี
แต่ถ้าเป็นนมจะต้องดูดจากขวด
การให้ดูดจากขวดน้ำสะดวก
ตรงที่นมไม่หก
และทิ้งเด็กไว้กับขวดนมจนหลับไปเองได้

สำหรับเด็กที่ยังติดขวดนมอยู่
ตอนกลางคืนคงต้องให้นมด้วยขวด
เพราะถ้าให้เลิกดื่มกระทันหันเด็ก
จะดูดมือหรือผ้าผ่มซึ่งสกปรกกว่าจุกนมเสียอีก
การเลิกให้นมขวดต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป

เด็กอายุหนึ่งขวบถึงขวบครึ่ง
ยังเป็นช่วงหัดใช้ช้อนกินอาหาร
เวลาเด็กใช้ช้อนตักอาหารเอง
แกจะทำหกเลอะเทอะเต็มไปหมด
แต่เมื่อด็กสนใจจะใช้ช้อนตักกินเอง
แม่ต้องสนับสนุน

แน่นอนที่เด็กวัย1ขวบ
ยังไม่สามารถตักอาหารกินเองได้ทั้งหมด
ถ้ารอให้กินเองคงเสียเวลามาก
แม่ควรให้แกนั่งที่โต๊ะ
ส่งช้อนให้ตักข้าวกินเอง
และคอยช่วยป้อนกับข้าวให้
เวลาในการกินอาหารแต่ละมื้อ
ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง

เด็กบางคนชอบเล่นระหว่างกินอาหาร
เป็นเพราะแกหมดความอยากกินเสียแล้ว
แม่ควรพอแค่นั้น
ถ้าปล่อยให้แกเล่นไปกินไป
กว่าจะหมดชามจะเสียเวลาเป็นชั่วโมง
3มื้อ3ชั่วโมง
รวมเวลานอนและเวลาอาหารว่างเข้าไปด้วย
ก็เกือบหมดวัน
เด็กเลยมีเวลาเล่นออกกำลังกายได้น้อย
ซึ่งมีผลให้ไม่ค่อยหิว จึงกินน้อย

สาเหตุที่ทำให้
เด็กไม่อยากกินอาหารกลางคันนั้น
ส่วนใหญ่เป็นเพราะอาหาร
แม่บังคับให้แกกินอะไรที่ไม่ชอบ
เมื่อแกถูกบังคับให้อยู่ในโต๊ะอาหาร
นานๆบ่อยๆเข้า
เด็กก็จะเกิดความเบื่อ
ไม่อยากกินข้าวขึ้นมาทันทีที่เห็นโต๊ะอาหาร

อ่านแล้วสบายใจขึ้นนิดหน่อยแฮะ ฮ่าๆๆ
ที่มา:http://www.maama.com/column/baby/view.php?id=247