สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับคะ

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

“นมแม่” ดีแท้แน่นอน ปกป้องลูกจากโรคภูมิแพ้


รูปภาพจาก สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย



“นมแม่” ดีแท้แน่นอน ปกป้องลูกจากโรคภูมิแพ้ ปัจจุบันความชุกของโรคภูมิแพ้ที่สำคัญ โดยเฉพาะ โรคหืด (asthma) และ โรค แพ้อากาศ (allergic rhinitis)  มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก จากการสำรวจนักเรียนในกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี 2533 – 2538 พบอัตราความชุกของโรคหืดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 13 และโรคแพ้อากาศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.9 เป็นร้อยละ 40 นับเป็นโรคที่สำคัญสำหรับประชากรเด็กไทยอย่างยิ่ง

 การกินนมวัวกับการเกิดโรคภูมิแพ้

ทารกที่ได้รับนมวัวตั้งแต่แรกเกิด มีความเสี่ยงต่อการถูกกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อโปรตีนในนมวัว เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้โปรตีนในนมวัวถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในลักษณะโมเลกุลใหญ่ได้ ร่างกายของทารกก็จะสร้างแอนตี้บอดี้ เช่น IgM และ IgE ขึ้นมาตอบสนองต่อโปรตีนเหล่านี้ และทารกที่มีแอนตี้บอดี้ specific IgE ต่อนมวัวในระดับที่สูงจะเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้น อาการดังกล่าว ได้แก่ ผื่นคันเรื้อรังที่ผิวหนัง หอบหืด หวัดเรื้อรัง หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด จากการวิจัยพบว่าเมื่อนำเด็กกลุ่มนี้งดนมวัว อาการผิดปกติจะหายไป ทารกที่มีอาการแพ้นมวัวเมื่อโตขึ้นมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดและแพ้อากาศมากกว่าทารกปกติ

จากงานวิจัยเด็กจำนวน 4,089 คนในประเทศสวีเดน พบว่าการเริ่มให้นมวัวเมื่อเด็กมีอายุมากกว่า 4 เดือน สามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ เช่นโรคหืด ผื่นผิวหนังอักเสบ แพ้อากาศในช่วงอายุน้อยกว่า 2 ปีได้ร้อยละ 30

ดังนั้น ถ้าต้องการให้นมผสมซึ่งส่วนใหญ่มีโปรตีนเต็มรูปของนมวัว (entire protein molecule) ควรเริ่มให้เมื่อเด็กมีอายุมากกว่า 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กมีการพัฒนาของระบบทางเดินอาหารดีกว่าตอนแรกเกิด เนื่องจากสามารถเลือกดูดซึมเฉพาะโปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กเพื่อป้องกันการแพ้นมวัวและลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ในอนาคต

ในช่วงที่เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียว จะลดโอกาสการได้รับโปรตีนที่เสี่ยงต่อการแพ้จากนมวัวและอาหารเสริมอื่น มีงานวิจัยแบบ meta analysis ที่แสดงให้เห็นผลของการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว (execlusive brest feeding) ต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ เช่น Gdalevich และคณะได้นำงานวิจัยแบบ prospective  จำนวน 18 รายงาน มาทำการวิเคราะห์เพื่อดูความสัมพันธ์ของการกินนมแม่กับการเกิด atopic dermatitis มีจำนวนเด็กที่อยู่ในการวิจัยทั้งหมด 4,158 คน และอายุทึ่ได้รับการวินิจฉัย atopic dermatitis อยู่ระหว่าง 1-5 ปี พบว่าถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ นับเฉพาะญาติสายตรง (first degree relative) เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวมากกว่า 3 เดือน มีโอกาสเป็น atopic dermatitis น้อยกว่าเด็กที่กินนมวัว และอาหารเสริมอื่นก่อนอายุ 3 เดือน (OR 0.58, 95% CI 0.41-0.92) แต่ถ้าไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้พบว่าการเกิด atopic dermatitis ในเด็กทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (OR 0.84, 95% CI 0.59-1.19) แสดงว่าการกินนมแม่อย่างเดียวลดการเกิด atopic dermatitis เฉพาะเด็กในกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้เป็นต้น
ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันที่ 1 มิถุนายน 2546 หน้า 4



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น